Market ตลาด (ควรเรียนรู้ธรรมชาติตลาด ตลาดมีนิสัย มีความรู้สึกและมีอารมณ์ เสมอๆ)
Position sizing จำนวนการ ซื้อ-ขาย
Entries จุดเข้าซื้อ (รอจังหวะและหาจุดเข้าที่ดีโอกาสกำไรสูง)
Stop จุดยอมขาดทุน (ตัดขาดทุนให้เร็ว)
Exit การขายทำกำไร (มองหาเป้าหมายและความน่าจะเป็นของเป้าหมาย)
Tactics กลยุทธ์ (วางแผนดี มีวิธีเล่นอย่างเป็นระบบที่แน่นอน)
หลักที่สำคัญที่สุด จุดตัดขาดทุน Cut loss เมื่อรู้ว่าแนวโน้มวิ่งผิดทาง
Cut loss เมื่อไม่เป็นไปตามระบบที่เราวางแผน
หลักการมองกราฟทางเทคนิคมองแบบ มีขึ้นและก็มีลง ขึ้นแล้วลง ลงแล้วก็ขึ้น
คิดและวางแผนก่อนเริ่มการ ซื้อ-ขาย
ซื้ออะไร ซื้อเท่าไหร่ ขายเท่าไหร่ ซื้อตอนไหน
จุดหนี อยู่ตรงไหน(ยอมตัดขาดทุน)
และจะขายทำกำไรเมื่อไหร่
ข้อคิดเตือนใจนักลงทุน
"ความผิดพลาดส่วนใหญ่เกิดจาก อารมณ์ ของเราทั้งนั่น"
"เมื่อมองตลาดยังไม่ชัดเจน ก็ควรลดน้ำหนักการลงทุนลง"
"เตรียมพร้อม วางแผนให้ดี รอบคอบ ระมัดะวัง อย่าคาดหวังมากเกินไป จนเกิดความเสี่ยง''
1. เลือกความเรียบง่ายมากกว่าความซับซ้อน
2. ฝึกความอดทน (รอจังหวะที่ดี อย่ารีบ)
3. มีสติและควบคุมอารมณ์ได้
4. คิดอย่างอิสระ
5. ไม่สนใจ ไม่วอกแวกจากภาพรวมภายนอก
6. ไม่ลงทุนด้วยสัญชาตญาณ (คิดเอง เดาเองหรือเสี่ยงเล่นดู )
7. ฝึกการอยู่นิ่งๆ ไม่ซื้อขายมากเกินไป
8. เป็นนักฉวยโอกาสเมื่อตลาดมีสภาวะสดใส ชัดเจน
9. อย่าตีบอลทุกลูกที่ขว้างมา (อย่าเข้าๆออกๆบ่อยเกินไป)
10. จงอยู่ในขอบเขตความรู้ของคุณ (มีความรู้แบบไหนก็ใช้วิธีเล่นแบบที่คุณรู้ )
11. จงตื่นกลัวเมื่อคนอื่นกำลังโลภและจงโลภเมื่อคนอื่นกำลังตื่นกลัว
12. อ่านและอ่านให้มากแล้วคิดให้ดี
13. อย่าทำพลาดแล้วเรียนรู้จากความผิดความของผู้อื่น
14. ก้าวสู้การเป็นนักลงทุนผู้รอบรู้และ ฝึกที่จะพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง
กฏข้อใหญ่ๆมักจะพูดเสมอให้คิดเสมอๆ
การเข้าครั้งนี้จะไม่ขาดทุน (เพื่อเตือนสติให้ตัวเอง)
รักษาเงินต้นไว้ให้ดี
ควรทำอย่างไรจึงได้กำไร (หลักอะไรบ้าง วิธีใดบ้าง เวลา จังหวะ ความเหมาะสม)
และควรเทรดอย่างไรให้เทรดได้ผลกำไรต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
1. อย่าพยายามเทรดในช่วงที่เราไม่รู้
(ช่วงที่อ่านกราฟไม่ออก มองไม่ชัดเจน กราฟไม่สวย ไม่แน่ใจ...)
2. อย่ารีบจนเกินไปและยื้อการขาดทุน
( อย่าปล่อยให้ความโลภยืนเหนือเหตุผล และขาดทุนเพราะคิดว่าเดี๋ยวก็กลับมา)
3. อย่าต่อต้าน แนวโน้มหลัก
( กราฟมักจะมีแนวโน้มเสมอๆ ระยะสั้นๆอาจจะsideway แต่ระยะเวลามากขึ้นยังคงเป็นขาขึ้นอยู่..)
4. จงเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง
( ทำอย่างไรเพื่อให้ขาดทุนน้อยลง ทำอย่างไรที่จะหาวิธีในการลงทุนที่สามารถทำกำไรได้ เรียนรู้ความผิดพลาด ตลาดสอนอะไรเรา ตัวไหนที่มักจะทำกำไรให้เราเสมอๆ หาเหตุและผล เพราะอะไร)
5. ทำการบ้านก่อนเทรดเสมอๆ จดและบันทึกลงสมุด
( มองกราฟ วิเคราะห์กราฟจาก 1d --->4h--->1h--->30h--->15m
ความสัมพันธ์เป็นยังไง เริ่มลงทุนควรเริ่มที่เท่าไหรก่อน
ตามความเหมาะสมของ ลักษณะกราฟว่ามั่นใจแค่ไหน หลายๆ
คนมักจะมองข้ามการจดบันทึก จดตัวที่เราสนใจจุดไหนน่าสนใจ
ถ้าเข้าแล้วจุดไหนควรออกยอมตัดขาดทุน แนวรับแถวไหน แนวต้านแถวไหน
มาถึงตรงนี้ถึงเข้าเลื่อนลงไปตัดขาดทุนทันที
หลายๆคนมักมองข้ามแบบแผนนี้เสมอๆส่วนใหญ่มักเปิดกราฟแล้วเทรดเลย เป็น วิธีคิดที่หยาบเกินไป ยังไม่ละเอียดพอ)
6. มีสมาธิในช่วงนั่นๆ (เงินทำเงินควรตั้งใจและมีสมาธิ)
ลงทุนโดยใช้ Technical Analysis
ลงทุนด้วยความเรียบง่าย ชัดเจน อย่าพยายามหาคำตอบที่ซับซ้อน มองกราฟแบบง่ายๆ มองกราฟให้ออกก่อน แบบที่เราเข้าใจ มีแนวโน้ม ไม่ซับซ้อนเกินไป มองแนวรับ แนวต้านที่ชัดเจน(แข็งแกร่ง)
"เมื่อมองกราฟ แล้วคุณเข้าใจ"
อย่าพยายามหาคำตอบที่ซับซ้อน
บัฟเฟตต์
ให้แนวคิดค้นแนวทางสู่ความสำเร็จโดยลงทุนหุ้นที่ไม่ซับซ้อน
โดยที่ตัวเขาเองไม่สามารถเข้าใจได้ หลักการที่ บัฟเฟตต์เรียนรู้จาก
เบนจามิน เกรแฮม อาจารย์ของเขา คือ “คุณไม่จำเป็นต้องทำเรื่องยากๆเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีเยียม” “ทำให้ง่ายๆคือเป้าหมายของคุณ” นี่คือแก่นแท้ของปรัชญาการลงทุนแบบ บัฟเฟตต์ หลักการง่ายๆนี้แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จอันยิ่งใหญ่
"ถ้าคุณไม่เข้าใจ มองกราฟไม่ออก
อย่าเข้าซื้อ-ขายเด็ดขาด"
วางแผน จดบันทึก และลากวาดเส้นลงบนกราฟ นำหลักการของ John Murphy มาต่อยอด
1. มองหาแนวโน้ม
ใน
กราฟมีแค่ 3 แบบ ขาขึ้น ขาลง ด้านข้าง
ใช้กราฟวิเคราะห์ราคาจากระยะยาวเมื่อมองภาพใหญ่จะเห็นว่าตลาดเป็นรูปแบบไหน
ทำอะไรอยู่และจะมองภาพรวมตลาดได้ง่ายขึ้น
เมื่อมองภาพระยะยาว(กราฟวัน สัปดาห์ เดือน)แล้วจึงค่อยมามองภาพระยะสั้น(ระหว่างวัน) การไปดูกราฟระยะสั้นๆก่อนมักจะทำให้มองผิดพลาดได้ง่ายกว่า(เกิดการหลอก ของกราฟ)เพราะแนวโน้มกราฟมักจะเดินทางตามกราฟระยะยาวเสมอๆ ดังนั่นถ้าคุณเป็นนักเทรดระยะสั้น วันต่อวัน นักเก็งกำไร คุณควร ซื้อ-ขาย ตามแนวโน้มระยะกลาง และระยะยาว
2. เดินทางไปกับแนวโน้มนั่นๆที่เกิดขึ้น
พิจารณาแนวโน้มที่เกิดขึ้นว่าเป็นแบบไหนเมื่อรู้แล้วจึงเดินตามแนวโน้มทางนั้น แนว
โน้มของตลาดจะมีทั้ง ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว
คุณต้องรู้ก่อนว่าคุณเป็นนักลงทุนประเภทไหน สั้น กลาง ยาว
แล้วจึงเลือกกราฟให้เหมาะสม
เมื่อถึงเวลาเทรดให้เทรดไปตามทิศทางแนวโน้มตามระยะเวลาที่คุณเลือก
''สำคัญ'' ซื้อเมื่อตอนที่ราคาลดต่ำลงมา(ลงมาปรับฐาน พักตัว ทำแนวรับ)ในแนวโน้มของเทรนขาขึ้น
ขายเมื่อตอนที่ราคาดีดตัวขึ้นไป(ขึ้นมาปรับฐาน พักตัว ทำแนวต้าน)ในแนวโน้มของเทรนขาลง
ถ้าคุณเป็นนักลงทุนระยะกลางให้ใช้กราฟรายวัน รายสัปดาห์
ถ้าคุณเป็นนักลงทุน ซื้อ- ขายภายในวันเดียว ใช้กราฟวันและระหว่างวัน
อย่างไรก็ตามจะเลือกเทรดแบบไหน เราต้องดูกราฟที่ระยะยาวกว่าเพื่อดูแนวโน้มก่อน แล้วจึงใช้กราฟระยะเวลาที่เราต้องการเทรดสำหรับการซื้อ-ขาย
3. หาจุดต่ำสุดของราคาและจุดสูงสุดของราคา
รู้จุดต่ำสุด คือ แนวรับ จุดสูงสุด คือ แนวต้าน หาให้เจอ(แล้วขีดไว้กันลืม)
หาแนวรับและแนวต้าน
ตำแหน่งที่ดีที่สุดคือ ซื้อที่แนวรับ(ใกล้ๆแนวรับ) ในช่วงแนวโน้มขาขึ้น
ตำแหน่งที่ดีที่สุดคือ ขายที่แนวต้าน(ใกล้ๆแนวต้าน) ในช่วงแนวโน้มขาลง
เมื่อ
ราคาทำยอดสูงใหม่กว่าจากนั้นจะกลับมาเป็น(แนวรับ)
เมื่อราคาวกกลับลงมาหรือเรียกว่า สูงเก่ากลายเป็นจุดต่ำใหม่
(ของแนวโน้มขาขึ้น)
เมื่อราคาทะลุจุดต่ำสุดจากนั้นจะดีดกลับมาเป็น(แนวต้าน) เมื่อราคาดีดตัวขึ้นไป เรียกว่า ต่ำเก่ากลายเป็นจุดสูงใหม่ (ของแนวโน้มขาลง)
ดูตัวอย่างรูป ขาขึ้น และ ขาลง
4. การปรับฐาน ราคาจะปรับฐานลึกแค่ไหน
การขึ้นก็ขึ้นเป็นรอบ ในรอบการขึ้นก็ต้องมีการปรับฐานเพื่อขึ้นต่อ
การลงก็จะลงเป็นรอบ ในรอบการลงก็ต้องมีการปรับฐานเพื่อลงต่อ
รอบการขึ้น รอบการลงมีการปรับฐานเหมือน คลื่น
เราสามารถวัดการปรับตัวที่เกิดขึ้นได้ในสัดส่วนง่ายๆ
การปรับตัวที่ระดับ 50% ของแนวโน้มก่อนหน้าเป็นสิ่งที่พบเห็นบ่อยที่สุด
สัดส่วนที่น้อยที่สุดมักจะเป็นหนึ่งในสามของแนวโน้มก่อนหน้า(33.38%) ของการปรับตัวและมากที่สุดสองในสาม(66.66%)
สำหรับการปรับตัวตามตัวเลข Fibonacci คือ 38% และ 62%เป็นตัวเลขที่สำคัญของการปรับฐานหรือปรับตัวของราคา
เมื่อ
เกิดแนวโน้มขาขึ้นหากจะซื้อควรรอการปรับฐานโดยดูตามระดับตัวเลข Fibonacci
ที่สำคัญๆเพราะมักจะเป็น แนวรับที่สำคัญ เพื่อลงมาสะสมแรงแล้วไปต่อ
ดูตัวอย่างรูป เตรียมลาก และ fibo@ จังหวะแรก fibo@2จังหวะที่สองของแนวโน้ม fibo@3จังหวะที่สามของแนวโน้ม
5. ลากเส้น(แนวโน้ม)
ลากเส้นแนวโน้ม เส้นแนวโน้มเป็นการมองและลากง่ายๆแต่ได้ผล สิ่งที่ต้องทำก็แค่ลากเส้นแนวโน้ม
ขาขึ้นของการลากก็จะมีการพักตัวในเส้นที่ลากแล้วขึ้นต่อ
ขาลงของการลากก็จะมีการพักตัวในเส้นที่ลากแล้วลงต่อ
จนกว่าจะมีการทะลุเส้นแนวโน้มนั่นๆได้มักจะเกิดสัญญาณการกลับตัวของแนวโน้มนั่นๆ
เส้น
ที่ดีควรมีการแตะของราคาอย่างน้อยถึงสามครั้ง(ไม่ทะลุหลุดเส้น)
เส้นยิ่งยาวยิ่งดีบอกแนวโน้มนั่นแข็งแรง(ลากแล้วหลุดเร็วแสดงเส้นสั้น)
และยิ่งถูกทดสอบโดยการแตะที่เส้นมากเท่าไหร่(เหมือนสะสมแรง)ยิ่งเป็นนัยสำคัญที่ต้องพิจารณา
6. ใช้เส้นค่าเฉลี่ย
เส้นค่าเฉลี่ยจะให้สัญญาณในการซื้อ – ขาย บอกถึงแนวโน้มขณะนั้นยังเกิดขึ้นอยู่หรือว่าเปลื่อนแล้ว
เส้นค่าเฉลี่ยไม่ได้บอกแนวโน้มอนาคตว่าราคาจะไปทางไหนแต่ก็สามารถบอกถึงการเปลื่อนแนวโน้มได้ดีมากๆ
การใช้เส้นค่าเฉลี่ย 2 เส้นเป็นที่นิยมในการหาสัญญาณซื้อ-ขาย ส่วนใหญ่จะนิยมใช้เส้น 4และ9วัน 9และ18วัน หรือ 5และ20วันเป็นต้น
สัญญาณจะเกิดขึ้นเมื่อตัดกันขึ้นซื้อ ตัดกันลงมาขาย
การใช้เส้นค่าเฉลี่ย40วันเพื่อหาจุดซื้อ-ขายก็เป็นสัญญาณที่ดีอีกตัวหนึ่ง
และเนื่องจากเส้นค่าเฉลี่ยเป็นตัวหาแนวโน้ม ดังนั้นจะใช้ได้ดีก็ต่อเมื่อตลาดมีแนวโน้มชัดเจน
ตัวอย่างรูป เส้นค่าเฉลี่ย 40 วัน (sma40)
สามารถ
ลากจากไหนก็ได้ชอบแบบที่ราคาเปิดปิด หรือ ชอบลากแบบใส้เทียน
ใช้แบบไหนก็ได้ครับฝึกดูไปเรื่อยๆครับ
แต่เมื่อหลุดแล้วไม่เป็นไปตามทิศทางที่เรามองมีทางเดียวเลยครับ
ยอมตัดขาดทุนแล้วเริ่มครั้งใหม่ ไม่มีระบบไหนถูกทุกครั้งครับ
ทุกระบบถูกเลือกมาให้ถูกมากกว่าผิด
แต่ระบบทุกระบบก็ต้องการทำตามอย่างมีวินัยสูงด้วยเช่นกัน
การมีวินัยจะช่วยให้การเสียหายขาดทุนน้อย
แต่ถูกทางจะกำไรมากเสมอๆครับไม่เชื่อลองมีวินัยดูครับ....
ข้อ
สอง ระยะสั้น มีตัวpivot ที่ใช้ดูระยะ 15m ใช้ได้ดีในการเล่นหนึ่งวัน
ส่วนระยะกลาง ระยะยาว ต้องลากมือเพื่อหาเป้าหมายหรือจะดูจาก แนวรับ แนวต้าน
อดีตว่าเคยขึ้น
ลงไปที่จุดไหนและอนาคตมักจะวิ่งที่พักตัวที่ระดับจุดที่อดีตเคยขึ้นมาถึง
ลงมาถึงเช่นกันครับ
ข้อ
สาม ส่วนใหญ่น่ะครับ
พอมีแนวโน้มขึ้นหมดรอบขึ้นแล้วมักจะเกิดคลอเคลีย(sideway)หรือพักตัวก่อน
เสมอแล้วมีแนวโน้มครั้งต่อไป เปรียบ
เสมือนการวิ่งครับเมื่อเราวิ่งมานานเราเหนื่อยเราก็ต้องพักก่อน
เมื่อพักเราก็หายเหนื่อย(สะสมแีรงนั่นเอง) พอหายเหนื่อยเราจึงวิ่งต่อ
สรุปแล้วเกิดแนวโน้มครบหนึ่งรอบแล้วพักเพื่อสะสมแรงแล้วจึงวิ่งครั้งต่อไป
ครับ
ราคาการขึ้นลงของกราฟก็มีอารมณ์และความรู้สึกเหมือนเป็นสิ่งมีชีวิตเช่น
เดียวกันครับ เป็นไปตามธรรมชาติทั้งนั่นครับ ขยันมอง
ขยันสังเกตุและขยันมีวินัยครับ เดี๋ยวก็เก่งครับ
ฝึกให้ทานจนเป็นนิสัย ความโลภจากกำไรและควมโลภของการไม่กล้า stop loss จะหายไปเองว
ว่ากันด้วยออกแบบ "ระบบ''
ก่อน
จะเริ่มวางระบบ อยู่ๆจะวางระบบเลยไม่ได้ พื้นฐานต้องมี
มีความเข้าใจแล้วพอสมควร มองและแยกให้ออกว่า
ระบบที่ดีนั่นต้องมีปัจจัยอะไรมาร่วมด้วย ที่จะทำให้ได้กำไร มากกว่าขาดทุน
โดยจะเลือกมา 2 ระบบเพื่อใช้งาน
โดยก่อนเริ่มระบบ เราจะสร้างเงือนไขให้กับระบบ กระบวนการคิดโดยการสร้างเงือนไข
เงือนไขโดย โดยมองแนวโน้ม และรอจังหวะ HH HL ผสมกับการเกิด break out
ระบบแรก 1 2 3 4 ผสมกับการ HH HL
ระบบที่สอง เส้น MA ตัดกัน ผสมกับ HH Hl และ break out
เมื่อเลือกมา 2 ระบบ โดยกำหนดที่จะเล่นที่ระดับ 5 m โดยวิเคราะห์ภาพ 1h 4h เป็นหลักแล้วมาเล่นสั้นโดยตามระบบ เงือน
ไขโดย เล่นจบภายใน หนึ่งชั่วโมง ถึงระดับ สามชั่วโมง (โดยสามารถออกก่อน
เมื่อบวกไปแล้วที่ระดับ 10-20 จุด )และปิด
ก่อนครึ่งของทุนเพื่อลดความเสี่ยงเมื่อมาถึงระดับ แนวรับ
แนวต้านก่อนจะถึงเป้าหมายที่เราตั้งไว้
กำหนดช่วงที่จะเข้า ซื้อ ขาย โดยจบในวันนั่น โดยที่เริ่มตามระบบเมื่อเวลา 12.00-16.00 ภาคบ่ายรอบแรกของการตามระบบ
รอบต่อไป ช่วงเวลา 19.00-23.00 4 ภาคค่ำ
เงือน
ไขของรอบเวลา โซนยุโรปและอเมกา เพื่อต้องการแรงหนุนของการซื้อ
ขายให้มีวอลลุ่มแล้วตามระบบในช่วงโซนเวลานั่นๆ(ในช่วงมีแรง ซื้อ
ขายตามโซนตลาด)
โดยทำตามวินัยทุกครั้งของระบบ
กรณีศึกษาเพื่อไปใช้กับระบบของตัวเอง
โดยระบบแรก 1 2 3 4
โดยมองระยะ 1h ยังสามารถอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นได้
มาตามระบบในระยะสั้น 5m
ระบบที่ 2 โดย ใช้หลัก MA เส้นค่าเฉลี่ยตัดกัน
โดยในระบบ จะใช้เส้น ระหว่าง 50 กับ 8 SMA แบบง่ายๆ
ทำไมต้องใช้สองเส้นนี้ จังหวะเข้าที่ไม่ต่ำเกินไป และจุดออกได้จุดออกที่ดี คือมองภาพระบบแล้ว เป็นระบบที่ กำไร มากกว่า ขาดทุน
เมื่อ เราเห็นแล้วว่า เมื่อวางแผนได้ ระบบ แล้ว เราจะเข้าใจในการเทรด รู้ที่ไป ที่มาว่าทำไมต้องเข้า ออก และเป็นวินัยการลงทุนที่แท้จริง ไม่ใช้ลงทุนแบบการพนัน
...แล้ววันนี้คุณมีระบบกันแล้ว หรือ ยัง...